top of page

NCSA x Time Consulting จัดเวทีเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และตระหนักรู้ ด้าน Cybersecurity จ.ภูเก็ต



NCSA X Time Consulting จัดเวทีเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และตระหนักเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เดินหน้าเชิงรุกสร้างภูมิคุ้มกันด้านความตระหนักรู้ด้านCybersecurity ให้กับผู้แทนหน่วยงานภาครัฐหน่วยงานเอกชน สถาบันการศึกษา ภาคประชาสังคม และประชาชนทั่วประเทศ


วันที่ 4 สิงหาคม 2566 สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช) ร่วมกับ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และ บริษัท ไทม์ คอนซัลติ้ง จัดเวที “การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” รุ่นที่ 3 ณ โรงแรมคอร์ทยาร์ด แมริออท ภูเก็ตทาวน์ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ แผน นโยบาย มาตรฐาน และมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการป้องกัน การรับมือ ภัยคุกคามด้านไซเบอร์ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดให้บุคคลในหน่วยงาน หรือบุคคลในครอบครัวได้

โดยได้รับเกียรติจากพลตรี ธีรวุฒิ วิทยากรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เป็นประธาน และมีนายอานุภาพ รอดขวัญ ยอดระบำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย พลเรือตรี ณัฐพงค์ ญาโณทัยขจิตต์ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดภูเก็ต (ฝ่ายทหาร) และคุณพัชญ์สิตา พัชรรุจิพันธ์ กรรมการบริษัท ไทม์คอนซัลติ้ง จำกัด เข้าร่วมในพิธีเปิด

กิจกรรมดังกล่าวได้เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ร่วมบรรยายเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้กับผู้เข้าร่วมอบรมถึงแนวทางการป้องกัน และรับมือภัยคุกคามด้านไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งหมด 4 ท่าน ได้แก่ พลตรี ธีรวุฒิ วิทยากรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.), คุณดรุณี พิกุลทอง ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สกมช., พันตำรวจเอก ณัทกฤช พรหมจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการ สกมช. และคุณพุทธคุณ พุทธวัฒนากุล กรรมการสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์บริษัท ไทม์ คอนซัลติ้ง จำกัด

ซึ่งการบรรยายครอบคลุมหัวข้อดังต่อไปนี้ (1) บทบาท หน้าที่ และภารกิจของ สกมช. (2) กฎหมายและมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 (3) แนวโน้ม (Trend) ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (4) กรณีศึกษาของภัยคุกคามทางไซเบอร์ในประเทศและต่างประเทศ และ (5) แนวทางปฏิบัติเมื่อหน่วยงานถูกโจมตีทางไซเบอร์

สำหรับเวทีการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และตระหนักเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ได้แบ่งการจัดอบรมออกเป็น 4 ครั้ง ทั่วประเทศ ได้แก่ รุ่นที่ 1 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดขอนแก่น, รุ่นที่ 2 ภาคเหนือ ณ จังหวัดเชียงใหม่, รุ่นที่ 3 ภาคใต้ ณ จังหวัดภูเก็ต และการอบรมมรอบพิเศษแบบออนไลน์ (Live Streaming) ผ่านช่องทางออนไลน์ของ สกมช. ซึ่งตลอดทั้งโครงการได้รับความสนใจ และมีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมจากทั่วประเทศรวมกว่า 7,500 คน


ทั้งนี้ การดำเนินโครงการฯ มุ่งหวังให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจ ตระหนัก และมีความพร้อมในการรับมือภัยคุกคามด้านไซเบอร์ทุกรูปแบบ สามารถตอบสนองได้ทันท่วงที เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทุกภาคส่วนของสังคม


โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
bottom of page