top of page

SME ไทย Go Global: ปลดล็อกศักยภาพด้วย “Market Intelligence”


แนวโน้มมูลค่าการส่งออกของผู้ประกอบการ SME เปรียบเทียบกับมูลค่าการส่งออกรวมของประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2566 พบว่า มูลค่าการส่งออกของผู้ประกอบการ SME มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นในช่วงปี พ.ศ. 2563 ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้มูลค่าการส่งออกของผู้ประกอบการ SME ลดลง อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกของผู้ประกอบการ SME กลับมาเติบโตอีกครั้งในปี พ.ศ. 2564 และเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2565 และ พ.ศ. 2566 โดยในปี พ.ศ. 2566 มูลค่าการส่งออกของผู้ประกอบการ SME มีมูลค่าอยู่ที่ 10.45 แสนล้านบาท เติบโตจากปีก่อนหน้า ในขณะที่มูลค่าการส่งออกรวมของประเทศไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 89.99 แสนล้านบาท


ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกข องผู้ประกอบการ SME คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 3.4 ของมูลค่าการส่งออกรวมของประเทศไทย ซึ่งถือว่ามีสัดส่วนค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับสัดส่วนมูลค่าการส่งออกของผู้ประกอบการ SME ในประเทศอื่น ๆ อาทิ สิงคโปร์ที่มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกของผู้ประกอบการ SME อยู่ที่ประมาณร้อยละ 40 ของมูลค่าการส่งออกรวมของประเทศ



จากข้อมูลการส่งออกของ SME ที่กล่าวมานั้น จึงได้ดำเนินการวิเคราะห์ปัญหาของการไปตลาดต่างประเทศของผู้ประกอบกิจการ SME ในเบื้องต้น พบว่าผู้ประกอบการ SME พบกับปัญหาหลัก ๆ ได้แก่ ข้อจำกัดทางการเงิน โลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน และการวิจัยตลาดและความเข้าใจ โดยมีรายละเอียดของข้อปัญหาดังต่อไปนี้


1. ข้อจำกัดทางการเงิน
  • ความผันผวนของสกุลเงิน: การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนอาจส่งผลต่อกลยุทธ์การกำหนดราคาและอัตรากำไร 

  • การเข้าถึงเงินทุน: การเข้าถึงเงินทุนอย่างจำกัดเพื่อการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศอาจจำกัดความสามารถในการลงทุนในการตลาดการจัดจำหน่าย และกิจกรรมที่จำเป็นอื่นๆ

2. โลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน
  • การขนส่งและการจัดจำหน่าย: การจัดการการเคลื่อนย้ายสินค้าข้ามพรมแดน การจัดการกับขั้นตอนศุลกากร 

  • การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน: การหยุดชะงักที่ไม่คาดคิดในห่วงโซ่อุปทาน อาทิ ความไม่มั่นคงทางการเมืองหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ

3. การวิจัยตลาดและความเข้าใจ

  • ความรู้ทางการตลาดไม่เพียงพอ: การขาดความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการ ความชอบ และแนวโน้มของตลาดเป้าหมาย อาจนำไปสู่การเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการ 

  • แนวการแข่งขัน: การล้มเหลวในการวิเคราะห์และปรับตัวให้เข้ากับการแข่งขันอาจเป็นอุปสรรคต่อการสร้างความแตกต่างและเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด

จากปัญหาของผู้ประกอบการ SME ในการไปต่างประเทศทั้ง 3 ปัจจัยหลักข้างต้นนั้น ต่างก็มีความสำคัญและหากมีแหล่งที่จะสามารถรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ให้ผู้ประกอบการ SME ก็จะสามารถเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศได้ เนื่องจากในปัจจุบันไม่ว่าจะต้องตัดสินใจลงมือทำอะไรก็ควรมีข้อมูลที่ประกอบการตัดสินใจ การขาดข้อมูลและไม่ให้ความสำคัญกับข้อมูลอาจทำให้การตัดสินใจผิดพลาด มีการดำเนินการที่ผิดและมีโอกาสสูงที่จะล้มเหลว เช่นเดียวกับการไปตลาดต่างประเทศของผู้ประกอบการ SME ที่ควรมีคลังข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับการไปตลาดต่างประเทศเพื่อประกอบการติดสินใจ การวางแผนในการดำเนินการ และแนวทางที่ควรปฏิบัติ ซึ่งเว็บไซต์ Market Intelligence จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ SME เป็นอย่างมาก



Market Intelligence

Market Intelligence คือการรวบรวม วิเคราะห์ และตีความข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตลาด ลูกค้า คู่แข่ง และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เพื่อช่วยให้ธุรกิจตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ สามารถจะอยู่ในรูปแบบของเว็บไซต์เพื่อผู้ประกอบการ SME จะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป้าหมายของ Market Intelligence การให้ข้อมูลเชิงลึกที่ actionable แก่ธุรกิจ เพื่อนำไปใช้ในการ:


  • พัฒนาสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า

  • กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ

  • เพิ่มส่วนแบ่งการตลาด

  • เอาชนะคู่แข่ง

  • รับมือกับความเสี่ยงและโอกาสในตลาด


ตัวอย่าง Market Intelligence จากต่างประเทศ 

ปัจจุบัน ในหลายประเทศได้มีการดำเนินการสร้างเว็บไซต์ Market Intelligence เพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงสถิติ และการวิเคราะห์ตลาดซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ SME ที่มีความสนใจจะส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศได้มีการเตรียมความพร้อม และมีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจ โดยมีรายละเอียดแต่ละประเทศ ดังนี้ 


สาธารณรัฐเกาหลี

รัฐบาลเกาหลีใต้ให้ความสำคัญกับธุรกิจ SME อย่างมาก เห็นได้จากการจัดตั้ง กระทรวงภายใต้ชื่อ The Ministry of SME and Startup – MSS หน่วยงานที่มุ่งเน้นพัฒนาและสนับสนุนธุรกิจ SME โดยเฉพาะสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของธุรกิจ SME ในฐานะ "ฟันเฟือง" ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ MSS มุ่งมั่นส่งเสริมศักยภาพของธุรกิจ SME ผ่าน เว็บไซต์ Market Intelligence แหล่งข้อมูลครบครันสำหรับผู้ประกอบการ ประกอบด้วยข้อมูลเชิงลึก สถิติ และแนวโน้มตลาด ที่ช่วยให้ SME เกาหลีใต้สามารถวิเคราะห์ วางแผน และตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนเข็มทิศนำทางสู่อนาคตที่สดใสสำหรับธุรกิจ SME เกาหลีใต้


สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ต้นทางแห่งความสำเร็จจากภาคอุตสาหกรรมภาคการผลิตที่ขึ้นชื่อในเรื่องของคุณภาพในระดับโลก ซึ่งภายใต้ความสำเร็จในอุตสาหกรรมการผลิตของไต้หวันนั้น ส่วนใหญ่ถูกขับเคลื่อนด้วยธุรกิจ SME ดังนั้นเพื่อสนับสนุนธุรกิจ SME รัฐบาลไต้หวันจึงจัดตั้งสภาพัฒนาการค้าต่างประเทศแห่งไต้หวัน (TAITRA) โดย TRITRA ได้พัฒนาเครื่องมือที่สำคัญในเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ SME ผ่านเว็บไซต์ Market Intelligence (https://www.taitra.org.tw/) โดยเว็บไซต์ดังกล่าวเปรียบเสมือนคลังความรู้ที่รวบรวมข้อมูลเชิงลึก ที่เป็นประโยชน์ ต่อผู้ประกอบการ SME


เยอรมัน

เยอรมันถึงแม้ว่าจะเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่เป็นแหล่งกำเนิดของสินค้าชั้นนำของโลก เช่น Volkswagen และMercedes Benz เป็นต้น อย่างไรก็ตามธุรกิจ SME หรือ “Mittelstand” ที่มีความหมายว่า “สถานประกอบการขนาดกลาง” แต่ก็ยังถือเป็นจุดแข็งทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นทางกระทรวงเศรษฐกิจและพลังงานแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี จึงได้พัฒนาเว็บไซด์ Market Intelligence (www.mittelstand-digital.de) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูล แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด และเครื่องมือที่เข้ามาช่วยผู้ประกอบการ SME ในเยอรมนีในความพยายามในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล รวมถึงรักษาบทบาทที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป

bottom of page