top of page

10 เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ ในปี 2023 (Strategic Technology Trends 2023)

สำหรับในปี 2023 นี้ Gartner ได้เผยเทรนด์เทคโนโลยีที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยได้แบ่งเป็น 10 เทรนด์ ซึ่งจะมีเทรนด์ไหนบ้าง หรือธุรกิจของเราสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างไรบ้าง มาดูกันได้เลย


Strategic Technology Trends 2023 หรือ เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ สำหรับปี 2023 สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ Optimize, Scale, Pioneer และ Sustainability และ 10 เทรนด์ ที่ประกอบด้วย


Optimize

1. Digital Immune System (DIS)

เป็นการผสมผสานกลยุทธ์ทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์หลายอย่าง เช่น ระบบสังเกตการณ์ ระบบอัตโนมัติ และการทดสอบขั้นสูง เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าด้วยการป้องกันความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและความปลอดภัย และภายในปี 2025 Gartner คาดการณ์ว่าองค์กรที่ลงทุนในการสร้างภูมิคุ้มกันทางดิจิทัลจะเพิ่มความพึงพอใจของผู้ใช้ผ่านแอปพลิเคชันที่บรรลุเวลาทำงานที่มากขึ้นและมอบประสบการณ์การใช้งานที่แข็งแกร่งขึ้น


2. Applied Observability

เป็นกระบวนการที่ใช้เครื่องมือซอฟต์แวร์ เพื่อตรวจหาปัญหาโดยการสังเกต ทั้ง Input และ Output ของเทคโนโลยี โดยจะรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในวงกว้าง รวมไปถึงภาพรวมการทำงานและประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน สถิติทางธุรกิจ เช่น สัดส่วนการขายที่สอดคล้องกับข้อมูลการใช้งานของลูกค้า การวัดผลประสิทธิภาพของเครือข่ายและโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้แก้ไขปัญหาได้ก่อนที่จะมีผลกระทบต่อธุรกิจ


3. AI Trust, Risk and Security Management (AI TRiSM)

เป็นเฟรมเวิร์กที่สนับสนุนการกำกับดูแลโมเดล AI ที่มีความน่าเชื่อถือ ความยุติธรรม ความทนทาน มีประสิทธิภาพ และความเป็นส่วนตัว เนื่องจาก algorithms ปัญญาประดิษฐ์นั้นมีความซับซ้อนมากขึ้น จึงต้อง นำธรรมาภิบาล ความน่าเชื่อถือ ความยุติธรรม ประสิทธิภาพ และความเป็นส่วนตัวมาใช้ในการปฏิบัติงานของ AI มากขึ้น AI TRiSM มีเครื่องมือและกระบวนการที่ทำให้โมเดล AI ตีความและอธิบายได้ง่ายขึ้น ในขณะเดียวกันก็ปรับปรุงความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยโดยรวม


Scale

4. Industry Cloud platform

องค์กรต่างๆ จะใช้แพลตฟอร์มระบบคลาวด์เทคโนโลยีเก็บข้อมูลองค์กรมากขึ้น เพื่อขับเคลื่อนความคล่องตัว ความรวดเร็วในการสร้างสรรค์นวัตกรรม และเร่งเวลาในการสร้างมูลค่า ซึ่งรวมถึงการรวมซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์ม และบริการโครงสร้างพื้นฐานมาไว้ในเครื่องมือที่รวมไว้แล้วล่วงหน้า แต่มีความยืดหยุ่น ซึ่งเหมาะกับความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรมเฉพาะ ความสามารถที่บรรจุไว้ สามารถทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่องค์กรต่างๆ สามารถสร้างความคิดริเริ่มด้านดิจิทัลใหม่ๆ และสร้างความแตกต่างได้


5. Platform Engineering

เป็นกระบวนการที่องค์กรสามารถใช้เพื่อยกระดับ Cloud platform ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้วิศวกรสามารถส่งมอบคุณค่าให้กับการผลิตได้อย่างรวดเร็วและเชื่อถือได้ เนื่องจากซอฟต์แวร์สมัยใหม่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีความซับซ้อน อีกทั้งผู้ใช้ยังไม่มีความรู้ความสามารถมากพอ Platfrom Engineering จึงเกิดขึ้นระหว่างบริการและผู้ใช้ปลายทาง เพื่อส่งมอบชุดเครื่องมือ ความสามารถ และกระบวนการแบบบริการตนเองที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งรวบรวมไว้และปรับแต่งประสบการณ์ของนักพัฒนาให้เหมาะสมและเร่งการส่งมอบแอปพลิเคชันดิจิทัลได้


6. Wireless-Value Realization

เป็นระบบไอทีที่สามารถเชื่อมโยงเทคโนโลยีไร้สายต่างๆ เช่น อุปกรณ์ IoT เซ็นเซอร์ มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ ผ่านระบบเครือข่ายต่างๆ เพื่อให้สามารถรองรับอุปกรณ์จำนวนมาก โดยในอีกหลายปีข้างหน้าอุปกรณ์ไร้สาย จะใช้บริการ

เครือข่ายที่มอบความสามารถเพิ่มเติมนอกจากการสื่อสาร และขยายขอบเขตของโปรโตคอลและเทคโนโลยีไร้สาย ที่จะให้คุณค่ามากกว่าการเชื่อมต่อ ตั้งแต่การติดตามตำแหน่ง การตรวจจับเรดาร์ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวพลังงานที่ใช้พลังงานต่ำมาก โดยสามารถนำไปใช้ในการทำให้ธุรกิจเติบโตไปอีกระดับได้



Pioneer

7. Super Apps

แอปพลิเคชันที่รวมการใช้งานหลายอย่างที่จำเป็นเอาไว้ในแอปเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ มีแอปพลิเคชันมากมาย ที่สามารถจะเพิ่มลูกเล่น ฟีเจอร์ และบริการต่างๆ ไว้ในแอปของตัวเอง เพื่อทำให้แอปครอบคลุมทุกความต้องการ และผูกเข้ากับชีวิตประจำวันของผู้ใช้งานแอปได้เป็นอย่างดี


8. Adaptive AI

เป็นการทำระบบเอไอที่สามารถพัฒนาโมเดลใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้ประสบการณ์ในอดีตของมนุษย์และเครื่องจักร พร้อมจะรองรับข้อมูลที่อาจเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เอไอสามารถจะเรียนรู้สภาพแวดล้อมใหม่ๆ ได้เอง และสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสมเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการตัดสินใจมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น มีบริบทและต่อเนื่องมากขึ้น


9.Metaverse

Metaverse ว่าเป็นนวัตกรรมเชิงผสมผสาน ซึ่งต่างจากเทคโนโลยีทั่วไป ที่รวมแนวโน้มต่างๆ ของเทคโนโลยีเข้ากับสภาพแวดล้อมเสมือนจริง ซึ่งผู้คนสามารถปรับปรุงความเป็นจริงทางกายภาพได้ นวัตกรรมนี้เปลี่ยนโลกทางกายภาพหรือขยายไปสู่โลกเสมือนจริงที่องค์กรสามารถปรับปรุงการมีส่วนร่วมและการทำงานร่วมกันของพนักงาน


Sustainable Technology

10. Sustainability

เทคโนโลยีที่ยั่งยืน เป็นเทคโนโลยีที่หลายๆ ธุรกิจเริ่มมีความสนใจและนำมาใช้ให้เกิดขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานและระบบไอที ที่จะก่อเกิดความยั่งยืนขององค์กรและลูกค้า ด้วยการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ ระบบอัตโนมัติ การวิเคราะห์ขั้นสูง และบริการคลาวด์ที่ใช้ร่วมกัน ในการขับเคลื่อนผลลัพธ์ด้านสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืนให้เกิดขึ้น

จะเห็นได้ว่าเทรนด์เทคโนโลยีทั้ง 10 เทรนด์นี้ ล้วนเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญและเป็นแนวโน้มที่จะทำก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในธุรกิจของเรามากขึ้น หากมีการนำมาประยุกต์ใช้และพัฒนากลยุทธ์กับองค์กร ก็จะทำให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดในการ Transform ของธุรกิจเราได้เป็นอย่างดี

bottom of page