top of page

10 เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ ในปี 2024 (Strategic Technology Trends 2024)


Strategic Technology Trends 2024 - TIME Consulting

อีกไม่นานเราก็จะเข้าสู่ปี 2024 แล้ว ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่หลายๆ หน่วยงานได้เริ่มมีการคาดการณ์ต่างๆ ในเรื่องของเทคโนโลยี และประเด็นต่างๆ ที่จะช่วยให้ทุกองค์กรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นเดียวกับบริษัทยักษ์ใหญ่จากประเทศสหรัฐอเมริกาอย่าง “Gartner” บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก ที่ได้ออกมาเผยเทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ (Strategic Technology Trends 2024) สำหรับปีถัดไป โดยได้มีการแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มสำคัญ ได้แก่ Protect investment, Rise of the builders และ Deliver the value แต่จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง รวมทั้งธุรกิจของเราสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างไรบ้าง ต้องมาติดตามไปพร้อมๆ กัน!



10 เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ ในปี 2024 (Strategic Technology Trends 2024)
ที่มา: https://www.gartner.com

กลุ่มที่ 1. Protect investment

1. AI Trust, Risk and Security Management (AI TRiSM)

เป็นระบบที่รองรับการกำกับดูแลโมเดล AI ที่มีความน่าเชื่อถือ ความยุติธรรม ความทนทาน ความโปร่งใสและมีการคุ้มครองข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความแม่นยำ ในการใช้ AI โดยองค์กรที่ใช้โมเดล AI TRiSM นั้น สามารถควบคุมอคติต่อการตัดสินใจได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจด้วยเช่นกัน โดย Gartner ได้คาดการณ์ว่าภายในปี 2026 องค์กรที่ใช้การควบคุม AI TRiSM จะเพิ่มความแม่นยำในการตัดสินใจซึ่งสามารถกำจัดข้อมูลที่ผิดพลาดและผิดกฎหมายออกไปได้ถึง 80% อย่างไรก็ตาม ระหว่างการดำเนินงานจะต้องมีการทดสอบฟังก์ชันการทำความเข้าใจของ AI อย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่า ผลลัพธ์ของกระบวนการทำความเข้าใจและการตีความของ AI ยังอยู่ในขอบเขตความถูกต้องและเหมาะสม


2. Continuous Threat Exposure Management (CTEM)

เป็นแนวทางเชิงปฏิบัติเพื่อรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง โดยแนวทางการรักษาความปลอดภัยดังกล่าวจะสามารถปรับการประเมินความเสี่ยงให้สอดคล้องกับโครงสร้างของแต่ละธุรกิจหรือแต่ละวิธีการโจมตี (Threat Vectors) เพื่อลดความเสี่ยงภัยคุกคามอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อโครงสร้าง และโครงสร้างของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดย Gartner ได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2026 องค์กรจะให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านความปลอดภัยเป็นหลัก ซึ่งองค์กรที่ปรับใช้ CTEM จะเห็นผลการละเมิดความปลอดภัยที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญถึงสองเท่า


3. Industry Cloud Platforms

การจัดการผลลัพธ์ทางธุรกิจโดยการรวมบริการ SaaS, PaaS และ IaaS พื้นฐานไว้ในระบบฐานข้อมูลเดียวกัน โดย Industry Cloud Platforms (ICP) สามารถทำการปรับแต่งคลาวด์ให้เหมาะสมกับแต่ละอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ และสามารถปรับแต่งเพิ่มเติมให้ตรงกับความต้องการในแต่ละองค์กรได้ เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของธุรกิจ โดย Gartner ได้คาดการณ์ว่าองค์กรมากกว่า 50% จะหันมาใช้แพลตฟอร์มคลาวด์ภายในอุตสาหกรรมภายในปี 2027


4. Sustainable Technology

เป็นกรอบการทำงานของดิจิทัลโซลูชันที่ใช้เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนความสมดุลทางนิเวศวิทยาและสิทธิมนุษยชนในระยะยาว โดยการใช้เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยป้องกัน บรรเทา และสามารถปรับตัวให้เข้ากับความเสี่ยงในโลกธรรมชาติ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีทางสังคมเพื่อช่วยปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสิทธิมนุษยชน ความอยู่ดีมีสุข และความเจริญรุ่งเรืองอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคโนโลยีการกำกับดูแลที่ช่วยเสริมสร้างการดำเนินธุรกิจ การกำกับดูแล และการสร้างขีดความสามารถ และสุดท้ายคือ การใช้เทคโนโลยีอย่างยั่งยืนที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่จำเป็นสำหรับการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมได้


5. Democratized Generative AI

เป็นเทคโนโลยี AI ที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์เนื้อหาใหม่ๆ จากอินเทอร์เน็ต ทั้งรูปภาพ คำพูด ข้อความ ฯลฯ ให้มีความพร้อมในการใช้งานอย่างแพร่หลาย ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและทั่วถึงมากขึ้น โดยการที่บุคลากรสามารถเข้าถึง generative AI ได้ทั่วทั้งองค์กร ถือเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ช่วยลดต้นทุน และเป็นการมอบศักยภาพในการทำงานที่หลากหลาย รวมถึงเพิ่มโอกาสใหม่ๆ ในการเติบโตทางธุรกิจอีกด้วย โดย Gartner ได้คาดการณ์ว่าภายในปี 2569 องค์กรมากกว่า 80% จะใช้ generative AI, APIs โมเดล และปรับใช้แอปพลิเคชันที่เปิดใช้งาน Generative AI ในการผลิต ภายในปี 2569


https://www.gartner.com
ที่มา: https://www.gartner.com

กลุ่มที่ 2. Rise of the builders

6. Platform Engineering

กฎระเบียบในการสร้างและดำเนินการ Self-service Platform ภายในองค์กร กล่าวคือเป็นการช่วยจัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ต่อการพัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อช่วยลดภาระและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ให้มีความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยมากขึ้น โดย Gartner ได้คาดการณ์ว่า ภายในปี 2026 องค์กรวิศวกรรมซอฟต์แวร์ 80% จะจัดตั้งทีม Self-service Platform ภายในองค์กร ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ


7. AI-Augmented Development

การใช้เทคโนโลยี AI เช่น Generative AI และ Machine Learning (ML) เพื่อช่วยวิศวกรซอฟต์แวร์ในการสร้าง ทดสอบ และส่งมอบแอปพลิเคชัน โดยใช้เครื่องมือที่มี AI ผสานเข้ากับการทำงานของวิศวกรซอฟต์แวร์ ในการเขียนโค้ดแอปพลิเคชัน การแปลโค้ดเดิมให้เป็นภาษาสมัยใหม่ รวมถึงการแปลงการออกแบบให้เป็นโค้ด โดยเทคโนโลยี AI สามารถช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของนักพัฒนา และช่วยให้ทีมพัฒนาสามารถตอบสนองความต้องการซอฟต์แวร์ที่เพิ่มขึ้นในการดำเนินธุรกิจ อีกทั้งยังช่วยลดระยะเวลาในการเขียนโค้ดด้วยเช่นกัน


10 เทรนด์เทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ ในปี 2024 (Strategic Technology Trends 2024)
ที่มา: https://www.gartner.com

กลุ่มที่ 3. Deliver the value

8. Intelligent Applications

แอปพลิเคชันอัจฉริย ะซึ่งมีการปรับใช้เทคโนโลยี AI เช่น Generative AI ที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้หลากหลาย ทั้งวิดีโอ เสียง ข้อความ โมเดลสามมิติ ฯลฯ รวมถึงยังสามารถผสานข้อมูลด้านธุรกรรม และข้อมูลจากแหล่งภายนอกให้มีข้อมูลเชิงลึกภายในแอปพลิเคชันมากขึ้น เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีฐานผู้ใช้งานอยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ Business Intelligence แยกต่างหากเพื่อประเมิน และทำความเข้าใจถึงสถานะธุรกิจของตน นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยี AI ที่สามารถคาดการณ์หรือให้คำแนะนำแทนใช้ฟีเจอร์ที่ซับซ้อนและสามารถปรับแต่งแอปพลิเคชันให้เหมาะกับผู้ใช้ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก


9. Augmented Connected Workforce

กลยุทธ์ที่ใช้ในการเพิ่มมูลค่าแรงงานคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ มาวิเคราะห์ข้อมูลของพนักงาน และสามารถให้คำแนะนำในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานให้แก่พนักงาน ซึ่งถือเป็นการลดระยะเวลาในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีทักษะการทำงานที่ดีขึ้นโดยใช้เวลาน้อยลง Gartner ได้คาดการณ์ว่า 25% ของ Chief Information Officer (CIO) จะใช้ Augmented-Connected Workforce เพื่อลดระยะเวลาในการเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานลง 50% ภายในปี 2027


10. Machine Customers

ในอนาคตอุปกรณ์อัจฉริยะ เช่น กล้องวงจรปิด รถยนต์ที่มีการเชื่อมต่อ ระบบไฟอัจฉริยะ แท็บเล็ต นาฬิกาอัจฉริยะ และลำโพงอัจฉริยะ สามารถซื้อสินค้าและบริการได้ด้วยตนเอง ซึ่งปัจจุบันมีอุปกรณ์ IoT ประเภทดังกล่าวที่ติดตั้งแล้วมากกว่า 9.7 พันล้าน สิ่งเหล่านี้มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มในการเป็นผู้ซื้อหรือลูกค้าได้ในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อมูลค่าการซื้อขายถึงหลายล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2030 และมีความสำคัญมากกว่าการมาถึงของการค้าดิจิทัล




แหล่งอ้างอิง

bottom of page